
บัวพ้นน้ำ(๑) ความรักเกิดจากความรัก
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ในกรณีนี้ มีบุคคล ซึ่งเป็น ที่ปรารถนา
รักใคร่พอใจของ บุคคลคนหนึ่ง, มีบุคคลพวกอื่นมาประพฤติ กระทำต่อบุคคลนั้น ด้วยอาการที่ น่าปรารถนาน่ารักใคร่ น่าพอใจ; บุคคลโน้นก็จะเกิด ความพอใจขึ้นมาอย่างนี้ว่า “บุคคลเหล่านั้น ประพฤติกระทำ ต่อบุคคลที่เราปรารถนา รักใคร่ พอใจ ด้วยอาการที่ น่าปรารถนา น่ารักใคร่น่าพอใจ” ดังนี้;
บุคคลนั้นชื่อว่า ย่อมทำความรัก ให้เกิดขึ้นใน
บุคคล เหล่านั้น.
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! อย่างนี้แล เรียกว่า
ความรัก เกิดจาก ความรัก.
(๒) ความเกลียดเกิดจากความรัก ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ในกรณีนี้ มีบุคคลซึ่งเป็นที่ปรารถนา รักใคร่พอใจของ บุคคลคนหนึ่ง, มีบุคคล พวกอื่นมาประพฤติ กระทำต่อบุคคลนั้น ด้วยอาการ ที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่ารักใคร่ พอใจ; บุคคลโน้นก็จะเกิด ความไม่พอใจ ขึ้นมาอย่างนี้ว่า “บุคคลเหล่านั้น ประพฤติ กระทำต่อบุคคล ที่เราปรารถนา รักใคร่พอใจ ด้วยอาการที่ ไม่น่าปรารถนา ไม่น่ารักใคร่ พอใจ” ดังนี้ บุคคลนั้นชื่อว่า ย่อมทำ ความเกลียดให้เกิดขึ้น ในบุคคล เหล่านั้น. ภิกษุ ทั้งหลาย. ! อย่างนี้แล เรียกว่า ความเกลียด เกิดจาก ความรัก
(๓) ความรักเกิดจากความเกลียด ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ในกรณีนี้ มีบุคคลซึ่งไม่เป็นที่ ปรารถนารักใคร่พอใจ ของ บุคคลคนหนึ่ง, มีบุคคลพวกอื่น มาประพฤติกระทำต่อ บุคคลนั้น ด้วยอาการ ที่ไม่น่า ปรารถนา ไม่น่ารักใคร่พอใจ; บุคคลโน้น ก็จะเกิด ความพอใจ ขึ้นมา อย่างนี้ว่า “บุคคลเหล่านั้น ประพฤติ กระทำต่อบุคคลที่เรา ไม่ปรารถนารัก ใคร่พอใจ ด้วยอาการ ที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่ารัก ใคร่พอใจ” ดังนี้; บุคคลนั้น ชื่อว่า ย่อมทำ ความรักให้ เกิดขึ้นในบุคคล เหล่านั้น. ภิกษุ ทั้งหลาย. ! อย่างนี้แล เรียกว่า ความรัก เกิดจาก ความเกลียด.
(๔) ความเกลียด เกิดจาก ความเกลียด ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ในกรณีนี้ มีบุคคลซึ่งไม่เป็นที่ ปรารถนารัก ใคร่พอใจของ บุคคลคนหนึ่ง, มีบุคคลพวกอื่นมา ประพฤติกระทำต่อ บุคคลนั้น ด้วยอาการ ที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ; บุคคลโน้น ก็จะเกิด ความไม่พอใจขึ้นมา อย่างนี้ว่า “บุคคลเหล่านั้น ประพฤติ กระทำต่อบุคคลที่เรา ไม่ปรารถนารัก ใคร่พอใจ ด้วยอาการ ที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ” ดังนี้; บุคคลนั้น ชื่อว่า ย่อมทำ ความเกลียดให้เกิดขึ้น ในบุคคลเหล่านั้น. ภิกษุ ทั้งหลาย. ! อย่างนี้แล เรียกว่า ความเกลียด เกิดจาก ความเกลียด
จตุกฺก. อํ. ๒๑/๒๘๐/๒๐๐.
(๒) ความเกลียดเกิดจากความรัก ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ในกรณีนี้ มีบุคคลซึ่งเป็นที่ปรารถนา รักใคร่พอใจของ บุคคลคนหนึ่ง, มีบุคคล พวกอื่นมาประพฤติ กระทำต่อบุคคลนั้น ด้วยอาการ ที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่ารักใคร่ พอใจ; บุคคลโน้นก็จะเกิด ความไม่พอใจ ขึ้นมาอย่างนี้ว่า “บุคคลเหล่านั้น ประพฤติ กระทำต่อบุคคล ที่เราปรารถนา รักใคร่พอใจ ด้วยอาการที่ ไม่น่าปรารถนา ไม่น่ารักใคร่ พอใจ” ดังนี้ บุคคลนั้นชื่อว่า ย่อมทำ ความเกลียดให้เกิดขึ้น ในบุคคล เหล่านั้น. ภิกษุ ทั้งหลาย. ! อย่างนี้แล เรียกว่า ความเกลียด เกิดจาก ความรัก
(๓) ความรักเกิดจากความเกลียด ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ในกรณีนี้ มีบุคคลซึ่งไม่เป็นที่ ปรารถนารักใคร่พอใจ ของ บุคคลคนหนึ่ง, มีบุคคลพวกอื่น มาประพฤติกระทำต่อ บุคคลนั้น ด้วยอาการ ที่ไม่น่า ปรารถนา ไม่น่ารักใคร่พอใจ; บุคคลโน้น ก็จะเกิด ความพอใจ ขึ้นมา อย่างนี้ว่า “บุคคลเหล่านั้น ประพฤติ กระทำต่อบุคคลที่เรา ไม่ปรารถนารัก ใคร่พอใจ ด้วยอาการ ที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่ารัก ใคร่พอใจ” ดังนี้; บุคคลนั้น ชื่อว่า ย่อมทำ ความรักให้ เกิดขึ้นในบุคคล เหล่านั้น. ภิกษุ ทั้งหลาย. ! อย่างนี้แล เรียกว่า ความรัก เกิดจาก ความเกลียด.
(๔) ความเกลียด เกิดจาก ความเกลียด ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ในกรณีนี้ มีบุคคลซึ่งไม่เป็นที่ ปรารถนารัก ใคร่พอใจของ บุคคลคนหนึ่ง, มีบุคคลพวกอื่นมา ประพฤติกระทำต่อ บุคคลนั้น ด้วยอาการ ที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ; บุคคลโน้น ก็จะเกิด ความไม่พอใจขึ้นมา อย่างนี้ว่า “บุคคลเหล่านั้น ประพฤติ กระทำต่อบุคคลที่เรา ไม่ปรารถนารัก ใคร่พอใจ ด้วยอาการ ที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ” ดังนี้; บุคคลนั้น ชื่อว่า ย่อมทำ ความเกลียดให้เกิดขึ้น ในบุคคลเหล่านั้น. ภิกษุ ทั้งหลาย. ! อย่างนี้แล เรียกว่า ความเกลียด เกิดจาก ความเกลียด
จตุกฺก. อํ. ๒๑/๒๘๐/๒๐๐.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น