แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ธรรม แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ธรรม แสดงบทความทั้งหมด

วันศุกร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2562

ชวนคิดชวนคุย





การปฏิวัติมนุษย์ไม่ใช่สิ่งที่พิเศษกว่าปกติ หรือแยกออกจากชีวิตประจำวันของเราเลย จะขอยกตัวอย่างที่คุ้นเคยกัน เช่น มีเด็กชายคนหนึ่งใช้เวลาทั้งหมดของเขาไปกับการเล่น และไม่เคยใช้เพื่อการศึกษา แต่แล้ววันหนึ่งเขาตัดสินใจใช้ความพยายามที่จะปรับปรุงโอกาสแห่งอนาคตในชีวิตของเขา และก็เริ่มต้นศึกษาเล่าเรียนอย่างจริงจัง นี่แหละคือการปฏิวัติมนุษย์ของเขา

กล่าวกันว่า ผู้ที่ก้าวก่อนจะนำหน้า

ถ้าเราริเริ่มก่อน เรามักจะมีชัยชนะเสมอ

จงทุ่มเทเพียรพยายามทุกอย่างเพื่อค้นหาหรือส่งเสริมกำลังใจ

ผู้ซึ่งอยู่ท่ามกลางการต่อสู้ที่ยิ่งใหญ่อย่างแท้จริงโดยทันที

ด้วยการพบกับความยากลำบาก

บุคคลที่ยิ่งใหญ่จะถูกสร้างและพัฒนาขึ้นมา

โดยการท้าทายกับตัวเราเอง

ที่ทำให้เราเปิดอนาคตได้

จงมุ่งสู่การสร้างประวัติศาสตร์ใหม่

ขอให้ก้าวหน้าอย่างมีชีวิตชีวา

ด้วยจิตใจราชสีห์



วันศุกร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2562

กำลังใจ คำชี้นำ




วันอังคารที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2562

般若波羅 密多心經




กวน จื่อ ไจ๋ ผ่อ สัก * เห่ง ชิม ปัวะ เยียก ปอ หล่อ มิก ตอ ซี้ * เจี่ย กี่ โหงว อุ่ง ไก่ คง * โต่ว เจ็ก เฉียก โค่ว แอะ * เส หลี่ จื้อ * เส็ก ปุก อี่ คง * คง ปุก อี่ เส็ก * เส็ก เจียก สี่ คง * คง เจียก สี่ เส็ก * สิ่ว เสีย เห่ง เส็ก * เอี่ย หก อยู่ สี * เส หลี่ จื้อ * สี่ จู หวบ คง เสี่ยง * ปุก แซ ปุก มิก * ปุก โกว ปุก เจ็ง * ปุก เจ็ง ปุก เกี้ยม * สี่ กู คง ตัง บ่อ เส็ก * บ่อ สิ่ว เสีย เห่ง เสก * บ่อ งั่ง ยื่อ ผี จิ๊ ซิง อี่ * บ่อ เส็ก เซีย เฮียง บี่ ฉก หวบ บ่อ งั่ง ไก่ * ไหน จี่ บ่อ อี่ เส็ก ไก่ * บ่อ บ่อ เม้ง * เอีย บ่อ บ่อ เม้ง จิ่ง * ไหน จี่ บ่อ เหลา ซี่ * เอี่ย บ่อ เหลา ซี่ จิ่ง * บ่อ โค่ว จิบ มิก เต๋า * บ่อ ตี่ เอี่ย บ่อ ติก * อี บ่อ สอ เต็ก กู * ผู้ ที สัก ตอ * อี ปัวะ เยียก ปอ หล่อ มิก ตอ กู * ซิม บ่อ คั่ว ไหง * บ่อ คั่ว ไหง กู * บ่อ อู่ คง ปู่ * เอี๋ยง ลี่ เตียง เต้า หมั่ง เสีย * กิว เก้ง นิบ พ้วง * ซำ สี่ จู ฮุก * อี ปัวะ เยียก ปอ ลอ มิก ตอ กู * เต็ก ออ เน่า ตอ ลอ ซำ เมี่ยว ซำ ผู่ ที * กู ไจ ปัว เยียก ปอ ลอ มิก ตอ * สี่ ไต่ สิ่ง จิ่ว * สี่ ไต่ เม้งจิ่ว * สี่ บ่อ เสียง จิ่ว * สี่ บ่อ เต๋ง เต๋ง จิ่ว * เหล็ง ตื๊อ เจ็ก เฉียก โค่ว * จิง สิก ปุก ฮือ * กู ส่วย ปัว เยียก ปอ ลอ มิก ต่อ จิ่ว * เจียก ส่วย จิ่ว เยียก * กิด ตี กิด ตี * ปอ ลอ กิด ตี * ปอ ลอ เจ็ง กิต ตี * ผู่ ที สัก ผ่อ ฮอ *

ปอ เย ปอ ลอ มิก ตอ ซิม เกง กวง จือ ไจ ผู่ สัก
般 若 波 羅 密 多 心 經 觀 自 在 菩 薩,
ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร พระอารยาวโลกิเตศวรโพธิสัตว์

ฮัง ชิม ปอ เย ปอ ลอ มิก ตอ ซือ เจียว เกียน อู วัน ไก คง ตู อี ไช คู งุก
行 深 般 若 波 羅 蜜 多 時, 照 見 五 蘊 皆 空 ,度一切苦厄。
เมื่อครั้งบำเพ็ญจริยาแห่งปัญญาบารมีอย่างลึกซึ้ง, ได้พบว่า เบญจขันธ์ล้วนว่างเปล่า, จึงได้ก้าวล่วงสรรพทุกข์ทั้งปวง,

แส ลี จือ เส็ก ปุก อี คง คง ปุก อี เสก เสก เจียก ซือ คง
舍 利 子, 色 不 異 空, 空 不 異 色, 色 即 是 空,
สารีบุตร, รูปไม่ต่างจากความว่าง, ความว่างก็ไม่ต่างจากรูป, รูปคือความว่าง,

คง เจียก ซือ เสก เซา เสียง ฮัง เสก ยิด ฝุก ยู่ ซือ
空 即 是 色, 受 想 行 識, 亦 復 如 是。
แลความว่างก็คือรูป, อัน เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ , ก็เป็นเช่นนี้,

แส ลี จือ ซือ จู ฝับ คง เซียง ปุก เซง ปุก มิก
舍 利 子, 是 諸 法 空 相, 不 生 不 滅,
สารีบุตร, ก็สรรพธรรมทั้งปวงมีความว่างจากลักษณะ, มิเกิดขึ้นและมิดับสูญไป,

ปุก เกียว ปุก เจง ปุก เจง ปุก กำ ซือ กู คง จง
不 垢 不 淨, 不 增 不 減。 是 故 空 中
มิแปดเปื้อนและมิบริสุทธิ์, มิเพิ่มขึ้นและมิลดลง, ด้วยเหตุฉะนี้ในความว่างนั้น,

บู เสก บู เซา เสียง ฮัง เสก บู งัน ยือ พี เสก เซง อี
無 色,無 受 想 行 識, 無 眼 耳 鼻 舌 身 意,
จึงไร้รูป, ไร้เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ, ไร้ซึ่งจักษุ โสต ฆาน ชิวหา กาย และมโน,

บู เสก เซง เฮียง มี ฉก ฝับ บู งัน ไก ไน จี บู อี เสก ไก
無 色 聲 香 味 觸 法, 無 眼 界,乃 至 無 意 識 界,
ไร้ซึ่งรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และธรรมารมณ์, ไร้ซึ่งจักษุธาตุ, ไปจนถึงไร้ซึ่งมโนวิญญาณ,

บู บู เมง หยิด บู บู เมง จิน ไน จี บู เลา ซือ
無 無 明, 亦 無 無 明 盡, 乃 至 無 老 死,
ไร้ซึ่งอวิชชาความไม่รู้, และไร้ซึ่งความสิ้นไปของอวิชชา, จนไร้ซึ่งความชรา มรณะ,

ยิด บู เลา ซือ จิน บู คู จิบ มิก เตา
亦 無 老 死 盡, 無 苦 集 滅 道,
แลไร้ซึ่งความสิ้นไปของความชราและมรณะ, ไร้ซึ่งทุกข์, สมุทัย, นิโรธ, และมรรค,

บู ตี หยิด บู เตก อี บู ซอ เตก กู ผู่ ที สัก ตอ
無 智 亦 無 得, 以 無 所 得 故。 菩 提 薩 埵,
ไร้ซึ่งปัญญาญาณ และยังไร้ซึ่งการเข้าถึง ( ปัญญาญาณ )ได้, และด้วยเหตุที่มิอาจเข้าถึงได้ด้วย
ประการทั้งปวง, พระโพธิสัตว์,

อี ปอ เย ปอ ลอ มิก ตอ กู ซิม บู ควง ไง
依 般 若 波 羅 蜜 多 故, 心 無 罣 礙,
เพราะอาศัยปัญญาปารมิตาเป็นเหตุ, ให้ในหทัยไร้ซึ่งความสงสัยเคลือบแคลง,

บู ควง ไง กู บู เยา คง ปู
無 罣 礙 故 無 有 恐 怖,
แลเมื่อไร้ซึ่งความสงสัยเคลือบแคลงแล้ว, จึงปราศจากความตระหนกหวาดหวั่น,

ยิน ลี ติน เตา มง เซียง กิว เกง นิบ พับ
遠 離 顛 倒 夢 想, 究 竟 涅 槃,
ไกลห่างจากความคิดและความฝันที่วิปลาสผกผัน, จนบรรลุพระนิรวาณได้ในที่สุด,

ซำ ซือ จู ฟู อี ปอ เย ปอ ลอ มิก ตอ กู
三 世 諸 佛, 依 般 若 波 羅 波 多 故,
อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในตรีกาล, ด้วยเหตุที่ทรงอาศัยปัญญาปารมิตา,

เตก ออ เนา ตอ ลอ ซำ เมียว ซำ ผู่ ที กู จือ ปอ เย ปอ ลอ มิก ตอ
得 阿 耨 多 羅 三 藐 三 菩 提。 故 知 般 若 波 羅 蜜 多,
จนได้บรรลุพระอนุตรสัมมาสัมโพธิ, ด้วยเหตุฉะนี้จึงสมควรทราบว่า ปัญญาปารมิตานี้

ซือ ไต เซง เจา ซือ ไต เมง เจา ซือ บู เซียง เจา ซือ บู ตัง ตัง เจา
是 大 神 咒, 是 大 明 咒, 是 無 上 咒 是 無 等 等 咒,
คือมหาศักดามนตร์, มหาวิทยามนตร์, อนุตรมนตร์, อสมมนตร์,

แนน ชี อี ไช คู จิน สิก ปุก ฮี
能 除 一 切 苦, 真 實 不 虛。
สามารถขจัดสรรพทุกข์ทั้งปวง, เป็นสัจจะที่มิผิดพลาดหลอกลวง, จึงกล่าว มนตราปารมิตาว่า

กู ส่วย ปอ แย ปอ ลอ มิก ตอ เจา เจียก ส่วย เจา หวัก
故 說 般 若 波 羅 蜜 多 咒。 即 說 咒 曰

กิด ตี กิด ตี ปอ ลอ กิด ตี ปอ ลอ เจง กิด ตี ผู่ ที สัก พอ ฮอ
揭 諦 揭 諦, 波 羅 揭 諦 波 羅 僧 揭 諦, 菩 提 薩 婆 訶。

มอ ฮอ ปอ เย ปอ ลอ มิก ตอ (3 จบ)
摩 訶 般 若 波 羅 蜜 多



มัชฌิมประภาสปุญสถาน

ขอบุญกุศลที่ข้าพเจ้าได้กระทำนี้จงเป็นปัจจัยเกื้อหนุนสรรพชีวิตทั้งหลายให้ได้บำเพ็ญอนุตรวิถี กลับจิตแปรใจ ได้คืนจิตเดิม มีความสงบเย็นใจกาย ปราศจากเสียซึ่งสรรพกำทุกข์ ปลอดพ้นจากภัยเวร สงครามข้าวยาก ด้วยเดชะบุญนี้ จงช่วยค้ำชูบิดา - มารดา ครูบาอาจารย์ - ผู้มีพระคุณ ญาติสนิท - มิตรรัก ศัตรูหมู่มาร สรรพเจ้ากรรมนายเวร เทวาทุกชั้นฟ้า อารักษ์ทั่วชั้นดิน เหล่าภูติ นาคา - นาคี เหล่าวิญญา - หมู่เปรต - อสูรกายเหล่าสัตว์ใด ๆ จงเป็นผู้ได้รับอานิสงค์เดชะแห่งผลบุญนี้ท่วนทั่วทุกคนเทอญ...............






IMG_000000752000.jpg



วันเสาร์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2561

วันเสาร์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2561

วันอังคารที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2561

เทศกาลกินเจประจำปี 2561

IMG3-00000323

P-0030087




ผมมักจะเปรย ๆ อยู่เสมอว่าเรางดเว้นการบริโภคเนื้อสัตว์กันบ้างเถอะจริง ๆ แล้วอาหารมีมากมายให้เราเลือกรับทานแต่ว่าการงดเว้นเบียดเบียนชีวิตสัตว์ก็ถือว่าเราได้ทำทานอย่างหนึ่งถ้าเราตามใจปากติดในรสชาติ ของอาหารมากเกินไปก็เป็นอันตรายต่อสุขภาพเหมือนกัน อันนี้นา ๆ จิตตังน่ะครับโรคที่เกิดจากการรับประทานแบบไม่บันยะ - บันยัง ก็คือ โรคเบาหวาน โรคไต โรคเก๊า โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและโรอื่น ๆ จะตามติดมาด้วย เพราะฉะนั้นอย่าตามใจปาก อย่าตามใจตนเองบางอย่างเราต้องฝืนมันบ้างเราเกิดมาจะกินเพื่ออยู่หรือจะอยู่เพื่อกินกินน้อยแต่อยู่นาน ถ้าไม่เชื่อลองไปดูตามโรงพยาบาลดูสิปัจจุบันนี้โรคแปลก ๆ มีมากขึ้นทุกที ๆ ก็เป็นโรคอันเนื่องจากพฤติกรรมการกินทั้งนั้นโดยเฉพาะอาหารประเภท Fast Food


พระผู้มีพระภาค ฯ ทรงเสวยเนื้อ เพราะว่า กลิ่นดิบไม่ใช่กลิ่นเนื้อกลิ่นปลาแต่กลิ่นดิบเป็นกลิ่นของกิเลสขณะนี้ทุกคนไม่ได้กลิ่นกิเลสเลย คือไม่รู้ว่า กิเลสเป็นสภาพธรรมที่น่ารังเกียจ ทุกคนเพียงแต่ได้กลิ่นเนื้อดิบกลิ่นปลาดิบ เท่านั้นแต่พระผู้มีพระภาค ฯ ทรงแสดงว่า กลิ่นดิบ คือ กิเลส ฉะนั้น ผู้ที่บริโภคอาหารเนื้อโดยอบรมเจริญปัญญาดับกิเลสเป็น{สมุจเฉท}เช่น พระผู้มีพระภาค ฯ และพระอรหันต์ทั้งหลายจึงไม่มีกิเลส ไม่มีกลิ่นดิบ
ฉะนั้น ควรรังเกียจกลิ่นกิเลส ไม่ใช่รังเกียจกลิ่นของเนื้อสัตว์ ถ้าถามว่าการรับประทานอาหารมังสวิรัติ และการกินเจนั้นจำเป็นแค่ไหนก็ย่อมแล้วแต่บุคคล บางท่านบริโภคแล้ว


สุขภาพร่างกายแข็งแรงดีก็พอใจที่จะบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพของร่างกายแต่ต้องพิจารณากิเลสในขณะที่กำลังกินเจ หรืออาหารมังสวิรัติว่ารู้สึกติดพอใจในรสอร่อยไหม ? ความติดความพอใจนั่นแหละเป็นกลิ่นดิบแล้ว ฉะนั้นจึงต้อพิจารณาธรรมะโดยละเอียดจริง ๆ ไม่ใช่พิจารณาเพียงอาการที่ปรากฏภายนอกเท่านั้น และถามว่าถ้าไม่กินเจจะทำให้ศีลบริสุทธิ์ได้หรือไม่นั้นตอบว่าได้ เมื่อพิจารณาจิต และสภาพธรรมที่กำลังปรากฏเพื่อรู้ชัดในสภาพธรรมะทั้งหลายตามความเป็นจริง


กินเจ



วันพุธที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2561

เทศกาลกินเจ





25 ตุลาคม 2017 เกือบถึงครึ่งทางของเทศกาลกิน เจประจำปี 2017 ในระหว่างนี้ฝนก็ตกทุกวันเหมือนกันฝนเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติ(ธรรม)หรือไม่คำตอบคือไม่เลยถ้าใจเราเข้มแข็งไม่มีข้ออ้างใด ๆ ทั้งสิ้น ฝนตก เดินทางระยะไกล แดดร้อน ฯลฯ เป็นข้ออ้างของคนอ่อนแอ อนึ่ง...คนที่อ่อนแอมักบ่นว่า ร้อนนัก หนาวนัก หิวนัก ยังเช้าอยู่ รอประเดี๋ยว นี่คือ ข้ออ้างของคน ย่อหย่อน - อ่อนแอ

หมายเหตุ.....สิ้นสุดเทศกาลกิน เจ วันที่ 29 ตุลาคม 2017

มรรรค หมายถึง ทางซึ่งเป็นคำกลางที่หมายถึงทางที่ดำเนินไปส่วน คำว่า มิจฉา

หมายถึง สิ่งที่ผิด เมื่อเป็น(มิจฉามรรค)จึงหมายถึง ทางที่ผิด หนทางที่ผิดหมายถึง

ข้อปฏิบัติที่ไม่นำไปสู่ความพ้นทุกข์ เป็นไปด้วยอกุศลจิตซึ่งพระผู้มีพระภาคทรง

แสดงเปรียบเทียบกับสัมมามรรคโดยนัยของพระสูตร คือ มิจฉามรรค ๘ ได้แก่....

๑. มิจฉาทิฏฐิ ความเห็นที่ผิด

๒. มิจฉาสังกัปปะ ความคิดผิด

๓. มิจฉาวาจา วาจาผิด

๔. มิจฉากัมมันตะ การกระทางกายที่ผิด

๕. มิจฉาอาชีวะ อาชพีที่ผิด

๖. มิจฉาวายามะ ความเพียรผิด

๗. มิจฉาสติ ความระลึกผิด

๘. มิจฉาสมาธิ ความตั้งมั่นผิด

ซึ่งหากพิจารณาให้ละเอียด จะเห็นว่า การดำเนินหนทางที่ผิด มีแกนหลัก คือ

ความเห็นผิดที่เป็น มิจฉาทิฏฐิ เป็นปัจจัยสำคัญเพราะอาศัย ความเห็นผิดที่ผิด

จึงทำให้ ความคิดก็ผิดตามไปด้วย เมื่อคิดผิด การพูด วาจาก็ผิดการกระทำทาง

กายก็ผิด อาชีพก็ผิด เพียรผิดและ ระลึกผิด ตั้งมั่นผิด เพราะอาศัยความเข้าใจผิด

ที่เป็น มิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัย

เพราะฉะนั้น มิจฉามรรค ที่เป็นหนทางที่ผิด จึงไม่พ้นจากอกุศลธรรม ความไม่ดี

โดยมี(อวิชชา)ความไม่รู้ อันเป็นเหตุให้เกิดความเห็นผิดและ ดำเนินทางที่ผิดได้

ตาม(กิเลส)ที่เกิดขึ้น

ซึ่งการจะละคลาย การดำเนินทางทีผิดก็ด้วยการอบรมปัญญาที่เป็น ความเห็นถูก

ที่เป็น สัมมาทิฏฐิ ด้วยการเสพคบกับ สัตบุรุษ คือ การฟังพระธรรมที่พระพุทธเจ้า

ทรงแสดงอย่างถูกต้อง ย่อมจะค่อย ๆ ดำเนินสัมมามรรค หนทางที่ถูกทีละน้อยได้

และ ละ มิจฉามรรคได้ในที่สุด

นรชน เหล่าใด ทำตามโอวาทอันพระพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว นรชนเหล่านั้นจักถึงฝั่ง(แห่งความ)สวัสดี(พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก วลาหกัสสชาดก)

ขอให้มีสิ่งที่ดี คือ มีคุณความดี พร้อมกับอบรมเจริญปัญญา

วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บรรยากาศก่อนตรุษจีนปีวอก(ทอง)2559 - 2016

ไม่ค่อยสบายครับเป็นโรคเส้นเลือดในสมองตีบแต่ก็ไปสวดมนต์ก่อนเข้าสู่เทศกาลตรุษจีน ประจำปี 2559 - 2016 ตามกิจวัตรเดิมที่เคยปฏิบัติมาวันนี้ก็เกือบตายก็ยังมีสติรวบรวมนึกถึงคุณพระพุทธ -พระธรรม - พระสงฆ์ นึกว่าจะ(สิ้นลมอีครา)นี้แล้วก่อนออกจากบ้านไปสวดมนต์ก็หายใจไม่ออกใจนึกว่าเอาว่ะ ตาย

เป็นตายไปตาย เอาดาบหน้าดีกว่าตายอยู่ในบ้าน เก็บภาพบรรยากาศบางส่วนมากฝากกันครับก่อนไปถึงศาลประดิษฐานพระอวโลกิเตศวรพระมหาโพธิสัตว์ก็แวะมูลนิธิปอเต็กตึ้งไปนมัสการ(อากง)ก่อนผมเรียกว่า - อากง -ครับไปนั่งพักเหนื่อยอยู่ครึ่งชั่วโมงแล้วก็เดินต่อไปเพื่อไปสวดมนต์มหากรุณาธารณีสูตรที่ศาลประดิษฐานองพระอวโลกิเตศวรมหาโพธิสัตว ์ เป็นภาพบรรยากาศก่อนเข้าสู่เทศกาลตรุษจีประจำปี 2559 - 2016 รถติดมากครับแต่ไม่เป็นปัญหาเพราะผมเดินอย่างเดียวตามความเชื่อของชาวจีนการจับจ่าย

เพื่อ ไหว้และรำลึกถึงพระคุณบิดา - มารดาและบรรพบุรุษบรรยากาศก็เป็นเช่นนี้ทุก ๆ ปีและเป็นตัวชี้วัดทางด้าน เศรษฐกิจไม่ว่ายากดี - มีจนก็ขอให้ตอบแทนพระคุณบรรพบุรุษภาพบรรยากาศวันนี้พฤหัสที่ 4 กุมภาพันธ์ 2559 และอีกประการหนึ่ง - กระดาษเงิน - กระดาษทองเผาแล้วบรรพบุรุษจะได้รับหรือไม่ต้องหาคำตอบกันเอาเองน่ะ วิธีทำบุญอย่างง่าย ๆ คือการสวดมนต์สวดมนต์แล้วได้อะไร นั่นสิน่ะก็ต้องหาคำตอบกันเอาเองอีกนั่นแหละ ตรุษจีนเป็นเทศกาลแห่งความสุขเราไม่รู้เลยวัน ๆ หนึ่งทุกอย่างผ่านไป

เป็นเราสุข เราทุกข์ เราเห็น เราได้ยิน เราเพลิดเพลิน ทุกอย่างเพื่อลืม ทุกข์ก็ไม่เข็ดเพราะหวังรอสุข แต่เราต้องมีปัญญาเพราะปัญญา นำไปในกิจทั้งปวง เมื่อเข้าใจธรรมจนดับกิเลสหมด นำไปในกิจทั้งปวงที่จะดับกิเลส ถึงปัญญาที่เป็นอรหัตตผลทำกิจดับกิเลสหมด สรุปแล้วทุกอย่างคือสิ่งสมมุติขึ้นมา สมมุติว่าเป็นวันปีใหม่ - คริสมาส - ตรุษจีน - วาเลนไทน์ การสวดมนต์คือการสร้างบุญ - บารมีอีกทางหนึ่งซึ่งไม่ต้องลงทุนมากและบารมีนั้น คือ คุณความดีทั้งปวงที่ทำให้ถึงฝั่งของการดับกิเลส ธรรมที่เป็นบารมีคือ

คุณความดีทั้งหมดที่มีปัญญาเป็นประธาน ซึ่งสิ่งที่สำคัญที่ขาดไม่ได้ คือ การฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรมอบรมเจริญปัญญา อันเป็นรากฐานสำคัญจะนำไปสู่การระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริง ว่า เป็นธรรม ไม่ใช่เรา จนกว่าจะถึงการรู้แจ้งอริยสัจจธรรม สามารถดับกิเลสได้ตามลำดับขั้นทั้งหมดนั้นต้องเริ่มจากการฟังพระธรรมในแนวทางที่ถูกต้องตรงตามพระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้วเท่านั้นจะขาดการฟังพระธรรมไม่ได้เลยที เดียวนิวรณ์เป็นอกุศลธรรมที่จะถูกดับด้วยมรรคจิต อันเป็นผลของการอบรมเจริญวิปัสสนาภาวนาเพราะเพียงสมถภาวนา ไม่สามารถดับนิวรณ์ได้ เพียงแค่ระงับด้วยการข่มไว้ด้วยกำลังแห่งฌานเท่านั้นพระธรรมเป็นเรื่องที่ละัเอียดลึกซึ้งมาก ต้องเริ่มที่การฟังพระธรรมศึกษาพระธรรมที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงให้เ้ข้าใจจริง ๆ

วันอาทิตย์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

คุณค่าแห่งชีวิต

XSM_10046299DSCF735-1





Sometime


IMG_0000000062231

วันพุธที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2557

หงพิ่ง 7 อริยทรัพย์คืออะไร ?

P_0000000310001706_20190310


1.ศรัทธา ทรัพย์ เพราะว่าความศรัทธายอมรับพุทธรรม มันสามารถหล่อเลี้ยง...รากกุศล....ที่พูดกันว่า ศรัทธาเป็นมูลธรรมของแม่กุศล อาจพูดได้ว่า ศรัทธาคือ....................
กองทุนของพุทธมรรค
2.วิริยะ ทรัพย์ ขยันธรรมงานธรรม แสวงหาพุทธมรรคในเบื้องสุดกล่อมเกลา้เวไนยสัตว์ในเบื้องล่าง สังคมบุญกุศลเพื่อเป็นเสบียงในการสำเร็จพุทธ ดุจชาวโลกมัธยัสถ์สะสมทรัพย์อย่างเดียวกัน
3.ศีลทรัพย์ สามาถป้องกันทำผิด - หยุดยั้งการทำชั่ว เรารับศีลหยุดทำชั่วแล้วหันมาทำความดี วิริยะบำเพ็ญบุญกุศล สามารถหลุดพ้นมีความร่ำรวยได้
4.ความละอาย จิตใจรู้สึกละอาย สำนึกรู้ว่าที่ทำผิดมาแล้ว รู้จักที่จะติดตามได้ จากนี้ไปก็หยุดจิตที่ไม่ดีงามทั้งหลาย ชั่วทั้งหลายไม่ทำ ดีทั้งหลายน้อบรับไปปฏิบัติ จึงเป็นการเปิดขุมทรัพย์ของบุญกุศล 5.ทรัพย์ จากการฟัง ให้ฟังพุทธรรมมาก ๆ เพื่อเจริญสติปัญญาเข้าใจในหลักงาน บำเพ็ญติดต่อกันไป ย่อมสำเร็จพุทธในที่สุด เพราะการฟังมาก ๆ จึงเป็นการเพิ่มพูนบุญกุศลทางพุทธมรรคเป็นเครื่องมือของทรัพย์ร่ำรวย
6.สละ ทรัพย์ ฝึกเรียพุทธรรม ด้วยใจเมตตา ปิติในการสละ ใจเสมอภาค บริจาคให้ทานจริง ๆ ให้ธรรมทาน ให้ทานด้วยแรงทรัพย์ภายนอก - ภายใน แสวงหาในการให้ ใจไม่ตระหนี่ เป็นการเพิ่มพูนอริยทรัพย์ทางพุทธมรรค
7.ปัญญา ทรัพย์ คนที่เรียนพุทธรรม - ฝึกการทำสมาธิ - เรียนปรัชญา หยุดเพ่งแล้วบำเพ็ญคู่ หยุดเพ่งไม่มีทางอื่น ไม่แค่รวบรวมใจไม่ให้ว้าวุ่น ขณะเดียวกันก็ต้องส่องเห็นขันธ์ 5 ว่างเปล่า โปรดสัตว์ไร้ลักษณ์ ไม่ติดอยู่กับการให้ทาน เป็นเมตตาปัญญาชะตาคู่ ก็จะสามารถสำเร็จโพธิญาณรวดเร็ว ประจักษ์พุทธมรรคเป็นกุศลหาปริมาณมิได้
จากศรัทธา - วิริยะ - ศีล - ความละอาย - ให้ทาน - สมาธิ - ปัญญา 7 ชนิดนี้เป็นอาหารของการสำเร็จพุทธะ เป็นพื้นฐานกองทุนการหมุนปุถุชนให้สำเร็จเป็นอริยะ ดังนั้นจึงได้ชื่อว่า 7 อริยทรัพย์
บทส่งท้าย
คนทั่วไปมักคิดว่า คนที่ดวงชะตาดีจะต้องสมบูรณ์ ร่ำรวย อายุยืน สุขสบาย และก็มีบุญ เวลาหมดอายุขัยก็ตายดี ถือเป็นบุญวาสนา 5 ดังที่เขาพูดกันว่า(โหงวฮกหล่งมึ้ง)อย่างไรก็ตามคนที่เรียนพุทธะ เพราะได้รับการบอกเล่าจากพุทธธรรมว่า รู้จักบุญคุญต้องตอบสนอง ดุจฝัน - มายา - ฟองน้ำ - เงา - ดุจน้ำค้าง - ดุจสายฟ้า หาใช่เสพสุขอยู่ได้นาน ดังทีพูดกันว่าบุญวาสนา 5 มันมีอยู่ชั่วคราว ควรที่จะลดละ ความใคร่อยาก รู้จักพอประมาณ ถ้าเอาให้ได้อย่างสุด ๆ ควรจะเป็น 7 อริยทรัพย์


Bloodbrother

โดยท่าน.........หงพิ่ง

เป็นผู้บรรยายธรรม คัดลอกจากวารสารเมธาธรรมไปได้มาจาก จีจินเกาะ
IMG_0010014110

วันจันทร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2557

ก่อนจะสายเกินไป - พญ.อมรา มลิลา

SAM_0012 (Copy)


ความโกรธสภาพธรรมที่มีจริง ๆ ในชีวิตประจำวัน เมื่อโทสะเกิดขึ้น ก็มีสภาพธรรม อื่นเกิดร่วมด้วย ฉันทะ ก็มี เพราะเป็นความพอใจที่เป็นไปกับอกุศล เป็นธรรมที่เกิด เพราะเหตุปัจจัย เป็นความจริงที่ว่าเมื่อความโกรธเกิดขึ้นนั้น ย่อมเดือดร้อน เป็นทุกข์ ไม่สบายใจ และถ้าสะสมมีกำลังมากขึ้น ย่อมหวังร้ายคิดร้าย ประทุษร้ายต่อผู้ที่ตนโกรธ ด้วยกาย ด้วยวาจา ให้เขาเป็นทุกข์ เดือดร้อน ปราศจากความสุขด้วยประการ
ต่าง ๆ เช่น ทุบตี ประหัตประหาร เกรี้ยวกราด กล่าววาจาหยาบคาย เผ็ดร้อน รุนแรง เป็นต้น แม้จะมีคนคอยบอกคอยเตือนให้เห็นว่า ความโกรธไม่ดี ก็ไม่รับฟัง เพราะกำลังโกรธ เมื่อประทุษร้ายผู้อื่นด้วยกาย ด้วยวาจาแล้วย่อมสาสมใจที่ได้กระทำเช่นนั้น นี้คือ ความเกิดขึ้นเป็นไปของอกุศลธรรม และเมื่อการประทุษร้ายเบียดเบียนผู้อื่นเกิดเพราะ ความโกรธ นั้น เป็นเหตุให้ผู้ที่กระทำอกุศลกรรมนั้นเองเป็นผู้ได้รับผลของ อกุศลกรรมนั้น โดยประสบความวิบัติ ทุกข์ยากต่าง ๆ และเป็นเหตุให้เกิดในอบายภูมิ คือ นรก เปรต อสุรกาย สัตว์ดิรัจฉาน ตามควรแก่ความหนักเบาของอกุศลกรรมนั้น ๆ โดยไม่มีใครทำให้เลย


Credit By...........................ความโกรธสภาพธรรมที่มีจริง



มัชฌิมประภาสปุญสถาน 
ขอบุญกุศลที่ข้าพเจ้าได้กระทำนี้จงเป็นปัจจัย เกื้อหนุนสรรพชีวิตทั้งหลายให้ได้บำเพ็ญอนุตรวิถี กลับจิตแปรใจ ได้คืน จิตเดิม มีความสงบเย็นใจกาย ปราศจากเสียซึ่งสรรพกำทุกข์ ปลอดพ้นจากภัยเวร สงครามข้าวยาก ด้วยเดชะบุญนี้ จงช่วยค้ำชูบิดา - มารดา ครูบาอาจารย์ - ผู้ มีพระคุณ ญาติสนิท - มิตรรัก ศัตรูหมู่มาร สรรพเจ้ากรรมนายเวร เทวาทุกชั้นฟ้า อารักษ์ทั่วชั้นดิน เหล่าภูติ นาคา - นาคี เหล่าวิญญา - หมู่เปรต - อสูรกายเหล่าสัตว์ใด ๆ จงเป็นผู้ได้รับอานิสงค์เดชะแห่งผลบุญนี้ท่วนทั่วทุกคนเทอญ

DSCF_000002011599